:: Academic Services and Research ::
282911
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
97
103
511
281680
2200
3453
282911

Your IP: 3.138.102.178
2024-04-19 18:37

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มข.  ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ Increasing the Visibility of Scientific Research Through Graphic Design ณ  อาคารวิทยวิภาส  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยมี รศ. ดร.รจนา  บุระคำ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธาน และมี รศ. ดร.ธีระพงษ์ พวงมะลิ เป็นวิทยากร ภายในงาน   วัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้ เนื่องจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในปัจจุบันได้มีการดำเนินงานวิจัยและมีการจัดทำร่างบทความวิจัยต้นฉบับ (manuscript) ในระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก แต่ยังขาดความรู้และทักษะในการนำเสนองานวิจัยให้เข้าใจได้ง่าย โดยผ่านการนำเสนอในรูปแบบของรูปภาพและกราฟต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอผลงานวิจัย ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างและช่วยพัฒนาทักษะ Soft skills คณะจึงต้องดำเนินการจัดกิจกรรมนี้   ทั้งนี้มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้นจำนวน 119 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษาและคณาจารย์ ของคณะวิทยาศาสตร์ ภายนอกคณะวิทยาศาสตร์ เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคโนโลยี วิทยาลัยนานาชาติ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสหวิทยาการ วิทยาเขตหนองคาย รร.สาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภายนอก เช่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เป็นต้น   ข่าว : กิตติยา ค้อชากุล ภาพ : ศักดิ์สิทธิ์ สุวรรณ์ ภาพกิจกรรมทั้งหมด : https://drive.google.com/drive/folders/1kRb0Z42GZYCB7N1Jay2i_wO3qg8-YW2q?usp=sharing  

วันที่ 18-19  กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 09.00-16.00 น. คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส จ.สกลนคร และ โรงเรียนบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น สำหรับโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส ได้เข้ารับการอบรม  ในหัวข้อ “การสกัดพลาสมิดดีเอ็นเอ (DNA plasmid) จากแบคทีเรียและการวิเคราะห์และแยกขนาดของพลาสมิดดีเอ็นเอด้วยเทคนิคอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟเรซีส”  ณ  ห้อง SC.7329  อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.07 และ  หัวข้อ “การย้อมสีแบคทีเรียและศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์”ณ  ห้อง SC.7109  อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.07   ส่วนโรงเรียนบ้านไผ่ ได้เข้ารับการอบรมในหัวข้อ  "โมเมนต์ความเฉื่อยและการหมุน" ณ ห้อง SC.8204 อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.08 หัวข้อ "การไทเทรตกรด-เบส และการเตรียมสารละลายเบสมาตรฐาน" ณ ห้อง SC.8521 อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.08 หัวข้อ "ปริมาณสารสัมพันธ์" ณ ห้อง SC.8709 อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.08 หัวข้อ "กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง" ณ  ห้อง SC.8321 อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.08 หัวข้อ "การหาค่ายังโมดูลัส" ณ ห้อง SC.8204 อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.08 หัวข้อ "การสกัดพลาสมิดดีเอ็นเอ (DNA plasmid) จากแบคทีเรียและการวิเคราะห์และแยกขนาดของพลาสมิดดีเอ็นเอด้วยเทคนิคอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟเรซีส" ณ ห้อง SC.7329 อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.07 หัวข้อ "การสั่นพ้องของคลื่นเสียงในท่ออากาศ"  ณ ห้อง SC.8204 อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.08 และ หัวข้อ "ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์" ณ ห้อง SC.3110 อาคารเรียนและปฏิบัติการ SC.03 ภาพกิจกรรมทั้งหมด : students_Lab ภาพ/ข่าว : ศักดิ์สิทธิ์ สุวรรณ์

               ศ.ดร.สมปอง  คล้ายหนองสรวง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย  รศ.ดร.ศรีประจักร์ ครองสุข  รองคณบดีฝ่ายบริหาร  รศ.ดร.โสภณ บุญลือ  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รศ.ดร.รินา ภัทรมานนท์  รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร  รศ.ดร.เกียรติสุดา นาคประสิทธิ์  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ  ผศ.ดร.ชูศักดิ์ พูนสวัสดิ์  รองคณบดีฝ่ายสหกิจศึกษาและพัฒนานักศึกษา ผศ.ดร.นิศาชล แจ้งพรมมา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย  ผศ.ดร.พาวินี กลางท่าไค่  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.เมศยา ธิติศักดิ์สกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ ผศ.ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล ผศ.ดร.วีระชัย สาระคร  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ รศ.ดร. กิตติกร นาคประสิทธิ์  หัวหน้ากลุ่มวิจัย AI, Machine Learning, Data Science และคณาจารย์จากทั้ง 9 สาขาในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่สาขาคณิตศาสตร์ สาขาสถิติ สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาชีววิทยา สาขาจุลชีววิทยา สาขาชีวเคมี ทำกิจกรรมโครงการจัดตั้งกลุ่มวิจัย AI, Machine Learning, Data Science ในวันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมพาขวัญ โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น             ศ.ดร.สมปอง  คล้ายหนองสรวง  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ได้ให้นโยบายในการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ ในการมุ่งสู่การเป็นคณะที่เป็นแนวหน้าด้านการวิจัยและนวัตกรรมและด้านการผลิตบัณฑิตคุณภาพสูง ให้ติดลำดับ 1 ใน 3 ของประเทศ และ 1 ใน 5 ของอาเซียน ในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยกิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคณะฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มนักวิจัยในคณะฯ  ด้าน AI, Machine Learning, Data Science เป็นการเบื้องต้น ให้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาโจทย์วิจัยที่เกี่ยวข้องกับ น้ำ อาหาร และ พลังงาน (Water-Food-Energy Nexus) ซึ่งเป็นกรอบการวิจัยเรือธงของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ต้องการสร้างผลกระทบที่เกิดจากการวิจัยและนวัตกรรมให้ไปสู่สังคมและชุมชน รวมไปถึงอุตสาหกรรมในเชิงประจักษ์ ให้บรรลุปรัชญาแห่งการเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อทั้งมวล หรือ Science for All และเป้าหมายของการจัดตั้งกลุ่มวิจัยด้าน AI, Machine Learning, Data Science ที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่า Citizen Science ให้สามารถสร้างผลกระทบเพื่อการพัฒนาประเทศ   ที่มา: รศ.ดร.รินา ภัทรมานนท์ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์องกร ภาพ: สุขทวี คลังตระกูล          

วันที่ 27 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ตีโจทย์วิจัยจากนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)” โดยมี รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นเป็นวิทยากรในการบรรยาย การบรรยายพิเศษในครั้งนี้ เป็นการบรรยายแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM Meeting โดยมีผู้ร่วมฟัง ประมาณ 40 คน ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำตามนโยบายของคณะวิทยาศาสตร์ ที่มีนโยบายส่งเสริมและสนับด้านการวิจัย ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน         ภาพ : จิราภรณ์ พิมพ์ภูมีข่าว : ศักดิ์สิทธิ์ สุวรรณ์        

คณะวิทยาศาสตร์ มข. โดยงานวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินโครงการกำจัดสารเคมี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใน วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำจัดของเสียและสารเคมีที่ใช้แล้ว ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการต่างๆ ภายในคณะให้เป็นไปตามข้อกำหนดในการจัดการสารเคมีอันตราย และเพื่อให้ห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาต่างๆ(ที่มีการใช้สารเคมี) สามารถยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทยได้ ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการมีความปลอดภัยมากขึ้น กิจกรรมในโครงการนี้ เริ่มจากการสำรวจประเภทและปริมาณของเสียและสารเคมีใช้แล้วประจำปี จากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และแบ่งกลุ่มสารเคมี(ตามข้อกำหนดของศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตรายฯ) โดยปีนี้ สามารถรวบรวมปริมาณของเสีย ทั้ง 2 ประเภท(ของแข็งและของเหลว)  รวมทั้งสิ้น   2,627.9 กิโลกรัม ซึ่งจะได้นำส่งไปกำจัดโดยบริษัทเอกชนต่อไป ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย นักวิชาการวิทยาศาสตร์ พนักงานวิทยาศาสตร์และพนักงานผลิตทดลอง จากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักวิชาการวิทยาศาสตร์ จากงานวิจัยและบริการวิชาการ จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 คน     ภาพกิจกรรมทั้งหมด : https://drive.google.com/drive/folders/1B57L9smTW4ZuX_QeDQbq6Kk-c9ZcVne4?usp=sharing  ข่าว : วัฒนา สวดประโคน ภาพ : ศักดิ์สิทธิ์ สุวรรณ์

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มข. ร่วมกับศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินโครงการกำจัดสารเคมี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565      ในกิจกรรมดังกล่าว ได้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ของคณะวิทยาศาสตร์ มข. และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภายนอก ซึ่งในปีนี้ สามารถรวบรวมสารเคมีใช้แล้วได้จำนวนหนึ่ง และจะได้มีการส่งไปกำจัด ด้วยกระบวนการตามมาตรฐานการกำจัดสารเคมีในลำดับถัดไป  สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว คือ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและทำให้เกิดความปลอดภัยในการเรียน การสอน รวมไปถึงการทำงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น ภาพ : John Watanabe, ศราวุฒิ พีระธรรม ข่าว : ศักดิ์สิทธิ์ สุวรรณ์

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.30 - 11.30 น. ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมโครงการ "แคมป์นักวิจัยดาวรุ่งพุ่งแรง" ณ ห้องประชุมสาขาวิชาเคมี ชั้น 2 อาคาร SC.01 คณะวิทยาศาสตร์ โดยมี ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานภายในงาน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงานซึ่งประกอบไปด้วยอาจารย์และนักวิจัยหลังปริญญาเอกทั้งสิ้น ประมาณ 40 คน  โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อพูดคุยแนะนำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นงานวิจัย ส่งเสริมให้อาจารย์ใหม่ได้ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น ชี้แจงนโยบายการผลักดันให้อาจารย์รุ่นใหม่ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ได้รับทุนวิจัย และพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัย     ภาพ : สุขทวี คลังตระกูล ข่าว : ศักดิ์สิทธิ์ สุวรรณ์  

วันพฤหัสที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มข. ได้จัดการประชุมวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 25 ณ  อาคารวิทยวิภาส  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยมี รศ. ดร.รจนา  บุระคำ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานภายในงาน   ในการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ ได้มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา เข้าร่วมนำเสนอผลงานทั้งสิ้น ประมาณ 263 คน ซึ่งกิจกรรมภายในงานนั้นเป็นการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งแบ่งเป็น 3 สาขาย่อย คือ  สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ  และสาขาคณิตศาสตร์  สถิติ มีจำนวนผลงานที่นำเสนอรวม 173  เรื่อง แบ่งเป็น การนำเสนอแบบบรรยาย 93 เรื่อง แบบโปสเตอร์ 80 ผลงาน  และมีนักศึกษาเข้าร่วม 263 คน”  นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ เรื่อง “Startup Inspired : แรงบันดาลใจจากจุดเริ่มต้นของนักเคมี สู่การเป็นผู้ประกอบการ” วิทยากรโดย ดร.ลัญจกร อมรกิจบำรุง กรรมการผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท เวลตี้ ม็อกกี้ อินโนเวชั่น จำกัด ผลิตภัณฑ์ทรายแมวจากมันสำปะหลัง แบรนด์ ไฮด์แอนด์ซีค   ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดงานในครั้งนี้   1. เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการ   2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาและคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์   3. เพื่อให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การวิจัย อันจะเกิดประโยชน์สำหรับนักศึกษาในการทำงานหรือศึกษาต่อ     ภาพ/ข่าว : ศักดิ์สิทธิ์ สุวรรณ์ ภาพกิจกรรม : https://khonkaenuniversity-my.sharepoint.com/:f:/g/personal/sakssu_kku_ac_th/EhSAJ2HC_7NFv2l5uzn9jkIBFGvldYgTUi3zviLIFznpww?e=uJqUob